วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2559

งานที่เกี่ยวกับการบิน ตอนที่ 4.2 เตรียมตัวก่อนสมัคร Cabin Crew / Flight Attendant

มาต่อกันจาก ตอนที่แล้ว (ตอนที่ 4.1)

ก่อนที่จะมาสมัครเป็น Cabin Crew ไม่สิ ก่อนจะก้าวมายื่นใบสมัครอาชีพนี้ ต้องมีอะไรในมือบ้าง มาดูกัน

ใบประกาศนียบัตร

อย่างแรกเลย จบปริญญาตรี


จำเป็นไหมนะ บอกเลยว่า ประเทศไทยอันก้าว.....(ไกล) แห่งนี้ ยังยึดติดกับกรอบความคิด กรอบที่ค่อนข้างจะตกยุคสมัยแล้ว คือจะทำงานอะไรก็แล้วแต่ ไม่รู้ละ บริษัทจะเรียกร้องหาคำว่า ใบปริญญาบัตร ระดับปริญญาตรี (อุ้ย ความคิดเห็นส่วนตัวล้วน)

แม้จะมีสายการบินบางสาย ได้ปรับตัว ปรับแนวทางความคิด ในการรับพนักงงาน โดยที่ไม่มองถึง ปริญญาตรี ขอแค่จบ ม.6 ก็ตาม แต่สายการบินแบบนี้ ยังมีน้อย ขอใช้คำว่าน้อยมาก

ฉะนั้นเพื่อความปลอดภัย และความมั่นคงในชีวิต ขอแนะนำให้เรียนจบปริญญาตรี เกรดสวยๆ มาก่อน (เกรดการเรียน มีความสำคัญ แต่ไม่ถึงกับต้อง 3.00 up) สิ่งที่จะช่วยเสริมให้ปริญญาตรีดูน่าสนใจมากขึ้นสำหรับงาน Cabin Crew คือ ภาษาที่ 3 นอกจากจะต้องเก่งภาษาไทย และภาษาอังกฤษแล้ว ภาษาที่ 3 ที่มาแรงแซงทุกโค้งก็คือ ภาษาจีน อันนี้บอกเลยสายการบินไหนก็ต้องการตัว แถมเวลาไปบิน ยังได้ค่า PA ภาษาจีนพิเศษเพิ่มด้วย (แล้วแต่ระเบียบของสายการบินนะ แต่ส่วนใหญ่จะให้) ถ้าไม่จีนก็คงจะเป็นพวก เกาหลี ญี่ปุ่น ประมาณนี้ ส่วนที่ไม่กล่าวถึงก็ขึ้นกับสายการบินนั้นว่าบินไปไหน เช่น บางสายบินเข้ารัสเซีย ก็คงต้องการคนพูดรัสเซียอะไรประมาณนี้ 

พยายามร่วมกิจกรรมกลุ่มไว้ เวลาถูกกรรมการพิจารณา หรือ ซักถามจะได้ตอบได้เต็มปากว่า หนู/ผม/ดิฉัน ชอบทำงานเป็นกลุ่ม และมีความเป็นผู้นำหากอยู่ในเหตุจำเป็นได้

เพราะงาน Cabin Crew นั้น ส่วนใหญ่แม้จะเป็นผู้ตาม หมายถึงทำตามคู่มือ Cabin Crew Manual (Safety Emergency Procedure Manual) และทำตามคำสั่งของ Captain และ Purser แต่ในกรณีฉุกเฉินหรือมีการอพยพ Cabin Crew ต้องสามารถเป็นผู้นำให้กับผู้โดยสาร เพื่อเอาตัวรอดในเหตุฉุกเฉินได้ รวมทั้งในบางกรณีที่ Purser นั้นเกิดสภาวะฉุกเฉิน ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ (Incapacitated) Cabin Crew ต้องสามารถมาเป็นผู้นำของเที่ยวบินนั้นๆ และปฏิบัติหน้าที่ทดแทน Purser ได้ด้วย และบางที Cabin Crew อาจจะต้องทำการปฐมพยาบาลซึ่งต้องมีความแม่นยำในหลักการรักษาซึ่งจะต้องเป็นไปตาม Cabin Crew Manual พร้อมการตัดสินใจและกระจายงายให้กับเพื่อนร่วมทีม เพราะทุกวินาทีคือความเป็นความตายของผู้ป่วย

สำหรับใบปริญญาตรี คงมีคำแนะนำเพียงเท่านี้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น