วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2559

งานที่เกี่ยวกับการบิน ตอนที่ 2 Crew Movement

มาต่อกันที่อาชีพที่น่าสนใจเกี่ยวกับการบิน อาชีพต่อมานั้นคือ Crew Movement


Crew Movement

Crew Movement

หน้าที่หลักของ Crew Movement เลย คือ การบริหารจัดการ มอนิเตอร์นักบินและลูกเรือหน้างาน ดูแลคอยจัดหานักบินและลูกเรือมาปฎิบัติหน้าที่ให้ครบสมบูรณ์ในทุกเที่ยวบินของสายการบิน

เพราะความจริงแล้ว แม้ว่าทางนักบินและลูกเรือจะได้รับ Roster ประจำเดือน หรือ ประจำช่วงเวลาของตัวเองแล้ว ก็ไม่ได้แปลว่าจะมีคนมาทำการบินได้ครบถ้วนทุกเที่ยวบิน บางคนก็ป่วยกระทันหัน บางคนประสบอุบัติเหตุ บางคนมีเรื่องจำเป็นที่ทำให้ไม่สามารถมาทำการบินตามที่ได้ถูกจัดไว้ได้ หรือบางครั้งมีเที่ยวบินพิเศษ อากาศยานทำการบินไม่ได้ (Aircraft On Ground : AOG) 

จากเหตุต่างๆ Crew Movement จึงต้องคอยจัดหานักบินและลูกเรือที่ถูกจัดให้เป็น Stand By Duty ตาม Roster นั้นๆ  ด้วยการโทรศัพท์ไปยังเบอร์ที่ทางนักบินและลูกเรือให้ไว้

ถ้านักบินหรือลูกเรือที่มี Stand By Duty ไม่รับโทรศัพท์ครบตามจำนวนและระยะเวลาที่ทางสายการบินกำหนด ก็จะถือว่านักบินหรือลูกเรือคนนั้นมีความผิด ทาง Crew Movement ก็จะต้องทำการรายงานไปให้กับทาง DFO (Director of Flight Operations) หรือ CCM (Cabin Crew Manager) เพื่อให้ลงโทษไปตามกฎระเบียบของทางสายการบิน


ข้อดีขออาชีพ Crew Movement 

ข้อแรกหรือจะถือว่าเป็นข้อเสียดีนะ นั้นก็คือ จะมีนักบินและลูกเรือมาหาตลอดเวลา เพื่ออะไร อันนี้ลองไปนึกดูเอาเอง ซึ่งบางอย่างก็โอนอ่อนผ่อนปรนได้ แต่ยังไง Crew Movement ที่ดีควรยึดถือกฎระเบียบ ข้อบังคับ เป็นที่ตั้ง ก่อนที่จะทำอะไรลงไป บางครั้งการช่วยคนอื่นก็จะทำร้ายตัวเราเอง


Shift Work
ข้อดีต่อมาทำงานเป็นกะ (Shift) ไม่ต้องมานั่งรถติด ดูหนัง ทานข้าววันพุธได้ลดราคา มีเวลาวันหยุดมากกว่าคนทำงานเวลาออฟฟิศทั่วไป


อยากทำอาชีพนี้จัง


หากอยากทำอาชีพนี้ ก็ไม่มีอะไรพิเศษจบปริญญาตรี ก็สามารถขอสมัครได้เลย ทันทีที่มีสายการบินไหนเปิดรับ ไปพร้อมความมั่นใจและที่สำคัญต้องแสดงให้เห็นว่าเป็นคนมีความอดทน ทำงานได้ความกดดันได้ดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น